Categories
News

มาทำความรู้จักกับ Influencers ทั้ง12 ประเภทเพื่อทำการตลาดให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

มาทำความรู้จักกับ Influencers ทั้ง12 ประเภทเพื่อทำการตลาดให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย รู้หรือไม่ว่าการตลาดแบบมีอิทธิพลเป็นหนึ่งในรูปแบบการตลาดดิจิทัลอันดับต้น ๆ ในแง่ของ (ROI) และสำหรับทุก ๆ 1 ดอลลาร์ที่ใช้ไปกับการตลาดแบบมีอิทธิพลแบรนด์ต่าง ๆ จะได้รับผลตอบแทนสูงถึง $ 5.78 หรือมากกว่า 5 เท่านั้นเอง

นั่นถึงเป็นเหตุผลที่นักการตลาดกว่า 91% เชื่อว่าการตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์เป็นรูปแบบการตลาดที่มีประสิทธิภาพมากในตอนนี้ (Influencer Marketing Hub, 2020) ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งที่แบรนด์ต้องเผชิญกับการตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์คือวิธีการเลือกผู้มีอิทธิพลที่เหมาะสมสำหรับแคมเปญการตลาดของตัวเอง เนื่องจากมี Influencers ประเภทต่าง ๆ มากมายจึงอาจเป็นเรื่องยากที่จะคิดว่า Influencer ประเภทใดที่คุณต้องการเพื่อปรับปรุงการตลาดของคุณ

ถึงการใช้อินฟลูเอนเซอร์จะได้ผลกับการตลาดในปัจจุบันแล้วคุณควรจะเลือกกลุ่มไหนละที่ตอบโจทย์กับแบรนด์ของคุณวันนี้เราจะมาแนะนำ 12 ประเภทของอินฟลูเอนเซอร์ให้เพื่อนๆได้รู้จักกันครับ โดย 2 กลุ่มหลักๆ คือ กลุ่ม Influencer ที่แบ่งตามจำนวนผู้ติดตาม และกลุ่มที่แบ่งตามประเภทคอนเทนต์บน Instagram

4 ประเภท Influencers ที่แบ่งตามจำนวนผู้ติดตาม

– Nano influencers (1 พัน – 1 หมื่น followers)

– Micro influencers (1 หมื่น – 1 แสน followers)

– Macro influencers (1 แสน – 1 ล้าน followers)

– Mega หรือ Celebrity Influencers (1 ล้าน followers ขึ้นไป)

1.Nano Influencers (1K–10K followers)

ตัวอย่าง: Alexis Baker, จับคู่กันกับ Winc Nano-Influencers มีจำนวนผู้ติดตามตั้งแต่ 1 พันถึง 1 หมื่นคน ซึ่งเป็นกลุ่ม Influencer ที่มีผู้ติดตามน้อยที่สุดในบรรดาผู้มีอิทธิพลกลุ่มอื่น ๆ แน่นอนการมีผู้ติดตามน้อยสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ (Engagement) บนโลกออนไลน์ได้มาก ซึ้งผู้ที่ติดตามส่วนใหญ่จะชอบไลฟ์สไตล์ คอนเทนต์ ที่แนะนำพวกเขาอยากไปตรงมาและจริงใจ ทำให้อินฟลูเอนเซอร์กลุ่มนี้ได้รับความนิยมสูง

Nano-Influencers เหมาะกับแบรนด์แบบไหน?

– แบรนด์ที่มีขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีงบประมาณน้อย

– เหมาะกับแผนการตลาดที่มองหากลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ บนโลกออนไลน์

– Nano-Influencer อาจไม่ได้ทำคอนเทนต์แบบยึดเป็นอาชีพจริงจัง ดังนั้นนักการตลาดอาจต้องวางแผน หรือพูดคุยกับ Influencer ให้ชัดเจนก่อนโปรโมทแคมเปญต่าง ๆ

2.Micro-Influencers (10K–100K followers)

Micro Influencers มีผู้ติดตาม 1 หมื่นถึง 1 แสนคน ซึ่ง Influencer กลุ่มนี้สามารถสร้างคอนเทนต์ที่ดึงดูดความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่มีความชอบ หรือไลฟ์สไตล์ที่มีความเฉพาะด้าน (Niche Market) ซึ่งแบรนด์สามารถทำการตลาดกับกลุ่ม Micro-Influencer กลุ่มนี้ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อเลือกคนที่ตอบโจทย์

Micro-Influencers เหมาะกับแบรนด์แบบไหน?

– การทำการตลาดที่มีเป้าหมายในการเพิ่ม Lead Generation หรือการเปลี่ยนจาก Customer Journey มาเป็นลูกค้า

– Micro-Influencer สามารถเขาถึงกลุ่มเป้าหมายที่ชื่นชอบไลฟ์สไตล์ที่มีความเฉพาะเจาะจง อย่างใดอย่างหนึ่งได้ง่าย เช่น ในด้านการออกกำลังกาย หรือด้านความงาม

นักการตลาดสามารถค้นหา Influencer ที่เหมาะสมกับการทำการตลาดได้จากเว็บ social listening

3. Macro-Influencers (100K–1M followers)

ซึ่ง Macro- Influencers บางคนอาจเป็นคนดัง (Celebrity) บนโลกโซเชียล และอาจเป็น Bloggers, Vloggers หรือ ผู้ที่ทำ Podcast ซึ่งผู้มีอิทธิพลกลุ่มนี้ไม่ได้เพียงแค่มีผู้ติดตามจำนวนมากเท่านั้น แต่ยังเป็นคนดังที่มีผู้ติดตามเยอะที่สะสมมานานหลายปี และเนื่องจากการที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก ทำให้ Influencer ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ติดตามได้อย่างทั่วถึงมากนัก เมื่อเทียบกับ Influencer 2 กลุ่มแรก

Macro-Influencers เหมาะกับแบรนด์แบบไหน?

– Macro-Influencer ส่วนใหญ่จะทำคอนเทนต์ได้แบบ Professional หรือทำเป็นแบบมืออาชีพ จึงเหมาะกับแบรนด์ที่มีขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ที่ต้องการตัวแทนในการโปรโมตคอนเทนต์แบบสม่ำเสมอ

– เหมาะกับการตลาดที่เน้นสร้าง Brand Awareness หรือเพื่อเพิ่มการรับรู้แบรนด์

– เมื่อนักการตลาดต้องการสร้างกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก – เหมาะกับการทำการตลาดผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียอย่าง YouTube, Facebook และ TikTok.

4.Mega-Influencers (1M+ followers)

คือกลุ่มผู้มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์ที่มีความเป็นมืออาชีพในการทำคอนเทนต์ และส่วนมาก จะเป็นคนดังที่เป็นที่รู้จักทั่วไป ทั้งในโลกออนไลน์ หน้าจอโทรทัศน์ และหน้าจอภาพยนต์ โดยมีผู้ติดตามมากก่วา 1 ล้านคนขึ้นไป และ Mega-Influencers จะมีไลฟ์สไตล์ที่โดดเด่น เป็นที่รู้จักในช่องทางที่ชัดเจน ดังนั้นคอนเทนต์ของคนกลุ่มนี้มักจะมีอิทธิพลต่อผู้ติดตาม และผู้บริโภคทั่วไป

Mega-Influencers แบรนด์แบบไหน?

– เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ในเชิงบวกให้กับธุรกิจ ด้วยการว่าจ้าง Mega Influencers ที่มีความเป็นมืออาชีพ

8 ประเภทของ Influencers ที่แบ่งตามลักษณะคอนเทนต์

5. สาย Gamers และ Live Streamers

6. สายกีฬา และฟิตเนส

7. Bloggers/ Vloggers

8. สายท่องเที่ยว

9. สายความงาม

10. สายแฟชัน

11. สายครอบครัว

12. สายกิน รีวิวอาหาร

5.สาย Gamers และ Live Streamers

Gaming Influencers โดยส่วนมากแล้วจะนิยมทำคอนเทนต์ประเภทเหล่านี้ ได้แก่:

– การรีวิวเกม (Game Review): ประเภท Action, First Person Shooter (FPS), Massively Multiplayer Online (MMO), การเล่นเกมที่ต้องใช้กลุยทธ์ (ขึ้นอยู่กับแต่ละเกม)

– สอนวิธีเล่นเกมเบื้องต้น เน้นแบบฝึกหัดพื้นฐานให้เข้าใจวิธีการเล่น (Tutorials) เหมาะกับผู้เล่นเริ่มต้น

– สอนแนวทางการเล่นเกม ในลักษณะการอธิบายผู้ชมว่า ทำไมถึงใช้เครื่องมือนี้ ทำไมถึงตัดสินใจวางแผนเกมแบบนี้ เป็นต้น (Game walkthroughs)

– การนำเสนอคลิปวิดีโอสั้น ๆ เพื่อนำเสนอซีนที่น่าสนใจจากในเกม (Montages)

– การเล่นภายใต้กฏ หรือเงื่อนไขที่ท้าทายฝีมือผู้เล่น (Challenges)

– การแข่งขันแบบทีม (Team Matchups)

Gaming Influencers โดยปกติแล้วมักจะนำเสนอคอนเทนต์แบบ Live Stream ผ่านแพลตฟอร์ม Twitch และ นิยมทำคอนเทนต์ต่าง ๆ เพื่อโปรโมตแบรนด์ของเกมที่เล่น นอกจากนี้ แบรนด์ที่ต้องการให้กลุ่ม Gamer รีวิวสินค้าอาจจะเป็นการนำเสนอสินค้าประเภทเครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยว หรือเสื้อผ้าที่ใส่ก็ได้ค่ะ

6.สายกีฬา และฟิตเนส

ตัวอย่าง Influencer: Mirna Valerio, Paid Partnership กับแบรนด์ Hydro Flask

สำหรับ Influencer สายออกกำลังกาย และฟิตเนส จะมีคอนเทนต์ที่หลากหลายเช่นกัน โดยขึ้นอยู่กับประเภทกีฬา และแนวทางการดูแลสุขภาพ อย่างเช่น

– โยคะ

– การวิ่ง

– ยกน้ำหนัก

– CrossFit

– Healthy

– lifestyle

– วิธีการลดน้ำหนัก

คอนเทนต์ของ Influencers กลุ่มนี้จะเน้นไปที่การสร้างแรงบันดาลใจ และแรงกระตุ้นในการออกกำลังกายให้ได้ผล ซึ่งหากคุณเป็นแบรนด์เสื้อผ้ากีฬา อาหารเสริมหรือเครื่องดื่มที่ให้พลังงานก่อนออกกำลังกาย หรือธุรกิจฟิตเนส ธุรกิจด้านการออกกำลังกาย จะเหมาะกับการทำการตลาดผ่านผู้มีอิทธิพลกลุ่มนี้

7.Bloggers และ Vloggers Bloggers

เป็นผู้มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะมีผู้ติดตามจำนวนมาก ในระดับ Macro และ Mega (1 แสนถึง 1 ล้าน) เรียกได้ว่า มีผู้ติดตามมากกว่าหนึ่งแสนคนขึ้นไป ซึ่ง Bloggers และ Vloggers จะนิยมทำ YouTube Channel และบล็อกส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่ เพื่อสร้างคอนเทนต์มีเนื้อหาน่าติดตามและยังได้รับความสนใจเป็นจำนวนมากอีกด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น กลุ่ม Bloggers and Vloggers บางคนสามารถทำการตลาดด้วยการใช้เทคนิค SEO ทำคอนเทนต์ได้อย่างมีคุณภาพ และสามารถทำ Backlink เข้าหาแบรนด์ได้ จึงทำให้แบรนด์ส่วนใหญ่มักลงทุน และว่าจ้างกลุ่ม Influencer ที่มีความเป็นมืออาชีพกลุ่มนี้ เพื่อช่วยสร้าง Brand Awareness เพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์รวมไปถึงกระตุ้นยอดขายให้กับแบรนด์อีกด้วย

8.สายท่องเที่ยว สายท่องเที่ยว

ตัวอย่าง Influencer Eric Stoen, Paid Partnership กับสายการบิน Qatar Airways Influencer สายท่องเที่ยวจะเน้นทำคอนเทนต์แนะนำการเดินทางซึ่งมีตั้งแต่การแบคแพค การท่องเที่ยวแบบหรูหรา การท่องเที่ยวในฤดูกาลต่าง ๆ การรีวิวสถานที่ท่องเที่ยว และรวมทั้งคำแนะนำในการเลือกที่พัก ร้านอาหารยอดนิยม และสายการบิน

ดังนั้นธรุกิจการท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร เอเจนซี่ท่องเที่ยวและวีซ่า หรือแบรนด์สินค้าทั่วไปสามารถทำการตลาดผ่าน Influencer กลุ่มนี้เพื่อช่วยโปรโมตร้านค้า หรือแบรนด์ของเราได้

9.สายความงาม สายความงาม

ตัวอย่าง Influencer Jordan, Paid Partnership กับแบรนด์ The Body Shop

สถิติจากเว็บไซต์ Influencermarketing เผยว่า 43% ของผู้บริโภคยุคใหม่ นิยมติดตาม Influencers สายความงาม ซึ่งคอนเทนต์ของผู้มีอิทธิพลกลุ่มนี้ จะเน้นการแชร์ประสบการณ์การดูแลผิว การแต่งหน้า รวมไปถึง how to ต่าง ๆ และการรีวิวสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับความงาม ซึ่งเหมาะกับการทำการตลาดที่มีกลุ่มเป้าหมายที่ชื่นชอบเครื่องสำอาง การแต่งหน้า และความงามด้านต่าง ๆ

10.สาย Fashion

สาย Fashion ตัวอย่าง Influencer Louis Polo ที่ทำงานร่วมกับแบรนด์ Express. Fashion
Influencers เน้นไปที่การนำเสนอคอนเทนต์ทางด้านแฟชัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับ รองเท้า เสื้อผ้า กระเป๋า ซึ่งมีทั้งการรีวิวรวมไปถึงค้าทั่วไปในย่านท้องถิ่น ไปจนถึงสินค้าแบรนด์หรูระดับโลก ลักษณะการโปรโมตคอนเทนต์ของคนกลุ่มนี้จะเป็นการรีวิวสืนค้า การทำงานโดยตรงกับแบรนด์เสื้อผ้า การทำ Haul Video ซึ่งเป็นวิดีโอที่นักชอปทั้งหลายนำเสนอกับผู้ชมว่ามีสินค้าอะไรใหม่ ๆ บ้างในฤดูกาลนี้

11. สายครอบครัว

สายครอบครัว Parenting Influencer หรือ Influencer ที่แชร์คอนเทนต์ประเภทแม่ และเด็ก หรือรีวิวประสบการณ์การเป็นพ่อแม่ กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ซึ่งแบรนด์ประเภทสินค้าที่ใช้ภายในบ้าน สินค้าเพื่อลูกน้อย หรือธุรกิจทั่วไป สามารถทำการตลาดผ่าน Influencer กลุ่มนี้ได้ 12. สายอาหาร สายกิน ปัจจุบัน Influencer ประเภทรีวิวอาหาร หรือแนะนำร้านอาหารมีจำนวนมากขึ้น ซึ่งร้านอาหาร ร้านคาเฟ่หรือแบรนด์ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร สามารถเลือก Influencer เพื่อช่วยในการทำการตลาดได้หลากหลายทั้งในรูปแบบการโฆษณาตรง ๆ การทำ Advertorial แบบเนียน ๆ การบอกเล่าประสบการณ์การได้ไปลองชิมอาหารถึงร้าน รวมทั้งการรีวิวสินค้า และรวมไปถึงการส่งเดลิเวอรี่

การเลือกอินฟลูเอนเซอร์ให้เหมาะสมกับแบรนด์ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเพราะว่าแบรนด์จะมีชื่อเสียงมากขึ้นหรือเป็นผู้คนรับรู้เข้าใจแบรนด์ของเราก็ขึ้นอยู่กับการตลาดรวมถึงการเลือกอินฟลูเอ็นเซอร์ด้วย แต่การเลือกอินฟลูเอ็นเซอร์ก็อาจจะไม่ใช่ทั้งหมดของการที่จะทำให้แบรนด์ดังขึ้นมันก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลาย ๆ อย่างที่แบรนด์ของเราทำด้วย เช่น คอนเทนต์ แคมเปญต่าง ๆ ของแบรนด์ด้วยถ้าทั้งหมดนี้เราสามารถพร้อมกันได้แบบถูกหลักเราเชื่อว่าแบรนด์ของคุณจะเป็นที่รู้จักได้อย่างมากขึ้นรวมขึ้นยอดขายที่เราจะได้เพิ่มขึ้นไปอีกด้วย